การจัดการความรู้ (KM)

การจัดการความรู้ (KM) ด้านการวิจัย

คณะกรรมการฝ่ายบริการวิชาการและงานวิจัย

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี ปีการศึกษา 2565

  1. เรื่อง เทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารฐาน TCI
  2. ความสอดคล้องกับกลยุทธ์ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 เป็นแหล่งการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี

กลยุทธ์ที่ 3.1  ถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการและการวิจัยสู่ชุมชน

กลยุทธ์ที่ 3.2  ให้บริการวิชาการแก่ชุมชนด้านการวิจัยและการเรียนการสอน

  1. ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ (KM) ด้านการวิจัย

บุคลากรผู้เข้าฝึกอบรมทุกท่านตระหนักถึงความสำคัญของการทำวิจัย และมีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการวิจัย และการเขียนรายงานวิจัย เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติ นานาชาติ  โดยสามารถนำผลงานเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้

  1. กิจกรรมดำเนินการจัดการความรู้
    1. จัดประชุมคณะกรรมการจัดการความรู้ เพื่อกำหนดความรู้หลักที่จำเป็น / สำคัญต่องาน / กิจกรรมขององค์กร
    2. กิจกรรมเสาะหาความรู้ที่ต้องการ โดยการแสวงหาความรู้จากเอกสารและบุคคลที่มีความรู้ โดยกำหนดประเด็นความรู้ที่ต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้คือ เทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารฐาน TCI
    3. การสร้างองค์ความรู้ : จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามประเด็นที่กำหนดไว้ในข้อ 2 โดยเชิญ รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ทีฆทรัพย์ มาเป็นผู้ให้ความรู้พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
    4. การนำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในข้อ 3 มาประยุกต์ใช้ในการเขียนบทความวิจัยของอาจารย์ รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ไปยังอาจารย์ในแต่ละสาขาวิชา
    5. การติดตามผลการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยนำประสบการณ์จากประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัดความรู้ใหม่
    6. สรุปและเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ด้านการวิจัย
  1. องค์ความรู้จาการจัดการความรู้ด้านการวิจัย

เทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารฐาน TCI การเตรียมตัวเขียนบทความ

  1. อ่านนโยบายและวัตถุประสงค์ของวารสาร: เนื้อหางานวิจัยจะต้องสอดคล้องกับนโยบายการจัดทํา การจัดพิมพ์ของวารสารนั้น
  2. อ่านคําแนะนําสําหรับผู้เขียนบทความของเจ้าของวารสาร
  3. อ่านแนวทางการประเมินคุณภาพของบทความ มีคุณลักษณะของงานวิจัยที่ดีเช่น มีคุณค่า มีความใหม่ น่าสนใจ ถูกต้อง เป็นต้น

     6. หลักการเขียนบทความวิจัยที่มีคุณภาพ

  • 1.  มีประเด็นหรือแนวคิดทางวิชาการที่ชัดเจน
  • 2. มีความทันสมัย และวิเคราะห์เป็นไปตามแนวคิดและทฤษฎีที่เหมาะสมและชัดเจน เน้นองค์ความรู้ใหม่
  • 3. มีทัศนะของผู้เขียนบนฐานของข้อเท็จจริงทางวิชาการ
  • 4. ควรค้นคว้าอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและเชื่อถือได้
  • 5. ควรใช้ศัพท์และภาษาทางวิชาการที่ถูกต้องเหมาะสม
  • 6. มีการนําเสนออย่างเข้าใจง่าย
  1. แนวทางการหาแหล่งเผยแพร่บทความวิจัย
  • 1. แหล่งเผยแพร่บทความวิจัย ได้แก่ วารสารวิจัยที่อยู่บนฐาน TCI ซึ่งควรเป็นที่ยอมรับของนักวิชาการในสาขาวิชานั้นๆ
  • 2. บทความวิจัยที่จะเผยแพร่ต้องเป็นบทความวิจัยที่ใหม่ ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใด ดังนั้นบทความวิจัยเรื่องเดียวกันจะทําได้เพียงครั้งเดียวไม่สามารถลงซ้ำได้
  • 3. องค์ความรู้ของผู้วิจัย ผู้ที่จะพิมพ์เผยแพร่ต้องรู้ลึกซึ้งในเรื่องนั้น
  • 4. เลือกวารสารเป้าหมาย หรือวารสารที่ต้องการตีพิมพ์ ควรสอดคล้องกับชื่อบทความ หรือศาสตร์ที่ทำวิจัย
  • 5. หาบุคคลที่สามารถช่วยเหลือให้คำปรึกษาได้ สามารถนําเข้าสู่ช่องทางของวารสารได้ถูกต้อง
  • 6. สร้างเครือข่ายสําหรับนักวิจัยที่อยู่ในความสนใจเหมือนกัน

การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี ปีการศึกษา 2565

                 การออกแบบการจัดการเรียนการสอน เพื่อรองรับผู้เรียนสู่ยุคศตวรรษที่ 21 เป็นที่สถานศึกษา มุ่งให้ความสำคัญ งานวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี ได้จัดโครงการเพื่อพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์ให้สามารถใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน ประกอบกับการเกิดวิกฤตการณ์ของการระบาดของโคโรน่าไวรัส  COVID19 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี  ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามมติของรัฐบาลและมหาวิทยาลัย ได้ประกาศให้ทุกคณะ ใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ในช่วงภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565 นับเป็นความท้าทายของคณาจารย์ทุกภาควิชา จนสามารถจัดการสอนให้กับนักศึกษาทุกชั้น โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาทุกชั้นปี โดยจัดสอบรวบยอด เพื่อสำเร็จตามหลักสูตรและทบทวนรายวิชาเพื่อสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพ
คณะกรรมการได้นำกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ มาจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวทางการสร้างห้องเรียนออนไลน์ ในยุคศตวรรษที่ 21 เป็นอย่างไร   โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของอาจารย์ในคณะฯทุกคน ได้ข้อสรุปดังนี้

การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

            คณะกรรมการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย รองคณบดีฝ่ายวิชาการ  และหัวหน้าภาควิชา  และอาจารย์ที่ดูแลระบบสารสนเทศ และเชิญอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการอบรมการสอนแบบออนไลน์   มีประเด็นสำคัญและข้อเสนอที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังนี้

1.การจัดการเรียนการสอนออนไลน์
การออกแบบวิธีการสอนและกลยุทธ์การสอนอาจารย์ในคณะฯได้มีการเตรียมการสอนออนไลน์ทันทีที่เกิดภาวะวิกฤตของการระบาดของโรค COVID19 และดำเนินการประชุมอาจารย์เป็นการด่วนเพื่อออกแบบการสอน กลยุทธ์การสอน ซึ่งแบ่งเป็น 3  ขั้นตอน ดังนี้

        1.1  ขั้นตอนการเตรียมสร้างห้องเรียนออนไลน์
1.1.1  อาจารย์เตรียมความรู้เกี่ยวกับรูปแบบออนไลน์ที่จะใช้สอน วิธีการใช้งาน และเลือกให้เหมาะสมกับความสามารถของตนเอง
เมื่อพิจารณาพื้นฐานทักษะของครูด้านการใช้เทคโนโลยี พบว่า มีความแตกต่างกัน จำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเป็นที่ปรึกษาและให้ความรู้ความเข้าใจ เพื่อจัดการอบรม เป็นกรณีเร่งด่วน  เพราะด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน ส่งผลต่อการเลื่อนเปิดสถานศึกษา และเกิดการแพร่หลายของแนวทางจัดการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนั้น ครูผู้สอนในฐานะผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่นักเรียนต่างก็มีการปรับตัว และเตรียมทักษะเพื่อรับมือกับแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบใหม่อย่างทันท่วงที พร้อมรับกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ
ทักษะในการจัดการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือระบบปฏิบัติการรูปแบบต่างๆ ที่อาศัยการบริหารจัดการห้องเรียนซึ่งแตกต่างไปจากห้องเรียนปกติในโรงเรียนนั้น ทักษะในการถ่ายทอดความรู้ของครูที่สำคัญอย่างยิ่งในการจัดการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็นแผนการสอน สื่อการสอน และการจัดการห้องเรียนผ่านเครือข่ายออนไลน์ สามารถสรุปได้ดังนี้
“ต้องรู้เท่าทันการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างสร้างสรรค์
เนื่องจากสภาพแวดล้อมในการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนกับการเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่แตกต่างกันอย่างมาก เพราะผู้เรียน อยู่ในสภาพแวดล้อมที่บ้าน และกระจายอยู่ต่างจังหวัด การนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาเป็นสื่อหรือเป็นช่องทางหลักในการถ่ายทอดความรู้และกระบวนการคิด แทนที่การถ่ายทอด และรับรู้รับฟังข้อมูลแบบต่อหน้านั้น กระทำดังนี้
1) จัดเตรียมความพร้อม และทักษะการใช้เทคโนโลยี และโปรแกรมแอพพลิเคชันต่างๆให้กับอาจารย์ ที่ต้องการเรียนรู้  โดยสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับกระบวนการจัดการสอน เพื่อความสะดวก และราบรื่นในการถ่ายทอดองค์ความรู้
2) ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีดังกล่าวในเบื้องต้น ได้แก่ วิธีการการใช้งาน ข้อดีหรือจุดเด่น ข้อเสียหรือจุดด้อยของแต่ละโปรแกรมหรือแอพพลิเคชันออนไลน์ในการจัดการเรียนการสอน ความรู้เรื่องการเข้าใช้ และเทคนิคการแก้ไขปัญหาระบบอินเทอร์เน็ตในเบื้องต้น
3) ทำความเข้าใจในเรื่องลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญญาในการคัดลอกนำข้อมูลของผู้อื่นมาใช้ การออกแบบเนื้อหาการเรียน และช่องทางการสื่อสารที่สอดคล้องกับความสามารถของแอพพลิเคชันหรือโปรแกรมออนไลน์
4)  ถ่ายทอดทักษะการใช้งานเทคโนโลยีแก่นักศึกษาไห้มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาขัดข้องที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการจัดการสอน จะทำให้การเรียนการสอนดำเนินการได้อย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะต้องประกอบกับทักษะอื่นๆ ควบคู่กันอีกด้วย
5) การเลือกใช้เทคโนโลยีมาสร้างห้องเรียนออนไลน์  รูปแบบห้องเรียนออนไลน์เป็นการผสมผสานหลายรูปแบบขึ้นกับวัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชา และหัวข้อเรื่องในการการจัดการเรียนการสอน ซึ่งระบบที่ทุกภาควิชาเลือกใช้มากที่สุด คือ การสร้างมัลติมีเดีย สื่อการสอน ออนไลน์โดยการบันทึกวิดีโอด้วย Microsoft power point และโปรแกรม Loom ผ่าน Application Google classroom ในการสร้างห้องเรียน ห้องสอบออนไลน์ และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนโดยใช้ Hangouts Meeting ,LINE, Email ของมหาวิทยาลัย ,Facebook เพราะเป็นช่องทางที่เข้าถึงง่าย สามารถแชร์ไฟล์งาน ไฟล์เอกสารประกอบการสอน แชร์คลิปวีดิโอในการจัดการเรียนการสอนต่างๆ ให้ทุกคนดาวน์โหลดได้ พร้อมมีรวมรวบไฟล์งานที่ได้รับมอบหมายอย่างเป็นระเบียบ มีระบบการแจ้งเตือนก่อนหมดเวลาส่งงานอย่างชัดเจน

     1.2. เตรียมความพร้อมของนักศึกษาในการเรียนแบบออนไลน์
ช่วงปิดภาคการศึกษาที่ 2 นักศึกษา ทุกชั้นปี เดินทางกลับบ้าน เมื่อถึงภาคฤดูร้อน มีนโยบายปิดสถานศึกษา และให้อาจารย์สอนแบบออนไลน์ ขั้นตอนการทำงาน มีดังนี้
1.2.1 แจ้งข้อมูลให้นักศึกษาทราบ ผ่านทุกช่องทาง เช่น  Application LINE  โทรศัพท์ ฯลฯ
เพื่อแจ้งตารางกำหนดการเรียนการสอนทุกรายวิชาแบบออนไลน์ และเตรียมอุปกรณ์พร้อมการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือและคอมพิวเตอร์
1.2.2 ตรวจสอบ E-mail ของนักศึกษา ([email protected]) เพื่อใช้ LOGIN  เข้าห้องเรียนออนไลน์ของมหาวิทยาลัย โดยมอบหมายให้อ่าจารย์ประจำชั้น เป็นผู้ประสานงานกับนักศึกษา แจ้งปัญหาการเข้าระบบ ให้กับงานสารสนเทศ ของคณะ หรือศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัย
     1.3. เตรียมความพร้อมของอาจารย์ในการเรียนแบบออนไลน์
1.3.1 อาจารย์ผู้สอนในรายวิชา เข้ารับการอบรมเพื่อสร้างห้องเรียน ด้วย Application Google classroom
1.3.2 เตรียมเนื้อหาในรูปแบบ PowerPoint, pdf, วิดีโอ มัลติมีเดีย การเตรียมจัดทำข้อสอบแบบฝึกหัดภายหลังการเรียนออนไลน์ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในรายวิชา ที่เป็นลักษณะการนำไปใช้ ในรูปแบบ Google form Quizz  และ การเก็บรวบรวมคะแนน เพื่อการวัดประเมินผลในห้องเรียนออนไลน์ ในรูปแบบ Google sheet
1.3.3 ทดสอบการใช้ Hangout Meet เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ การพูดคุย ซักถามและอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านออนไลน์

  1. ขั้นตอนการดำเนินงานขณะสอนออนไลน์
    อาจารย์ ผู้สร้างห้องเรียนออนไลน์ บริหารจัดการห้องเรียน ดังนี้
    1. เชิญอาจารย์ผู้ร่วมสอนที่มีชื่อในตารางเรียนทุกหัวข้อวิชา เข้าร่วมชั้นเรียน
    2. จัดวางตารางเรียนที่ระบุ เนื้อหา วันเวลาและกำหนดชื่อผู้สอน
    3. เตรียมสภาพแวดล้อม ห้องทำงาน ให้เหมาะกับการเรียนการสอนเสมือนการสอนในห้องเรียน ไม่มีเสียง หรือบุคคลเดินผ่านและรบกวน
    4. เริ่มสอนตามเวลา กรณี สอนสดผ่าน Hangout Meet ผู้สอนแต่ละหัวข้อ แจ้งให้นักศึกษารายงานตัวผ่านแชท เช็คชื่อหรือบอกรหัส   หรือ ทักทาย รายงานตัวผ่าน Hangout Meet กรณี สร้างบทเรียนออนไลน์  บททดสอบหลังเรียน ให้ตั้งกำหนดเวลาการเปิดบทเรียนและบททดสอบ
    5. สอนตามเวลา ใช้เวลาสอน 45- 1 ชม นาที และพัก เพราะถ้านอนนานเกินไป นักศึกษาจะเบื่อ รวมทั้งเป็นการสิ้นเปลืองอินเทอร์เน็ตนักศึกษา
    6. ติดตามการสอนออนไลน์โดยใช้ช่องทางการสื่อสารอื่นช่วยโดยเลือกช่องทางที่เข้าถึงได้ง่าย เช่น Line chat เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรึกษาผู้สอนได้ตลอดเวลา
    7. ตั้งคำถามหรือเปิดประเด็นอภิปราย ผ่าน Hangouts Meet  เมื่อจบแต่ละหัวข้อ
    8. หากมีคำถามท้ายบท แจ้งนักศึกษา และกำหนดเวลาเริ่มสอบและหมดเวลา
    9.  รวบรวมคะแนนจากห้องเรียนออนไลน์ และ Google sheet
    10. ขณะสอนจะทำการบันทึกไฟล์การสอนเผื่อมีนักศึกษาต้องการทบทวนซ้ำ
    11. ให้รางวัลชมเชยทุกครั้งที่นักศึกษามีวินัยในการเรียน เพื่อเป็นแรงจูงใจในการเรียน
  2. ขั้นตอนการประเมินผล
    1. อาจารย์สามารถจัดสอบย่อยช่วงท้ายบท และเมื่อเรียนผ่านออนไลน์ครบทุกบทเรียน
    2. รูปแบบข้อสอบออนไลน์ สร้างด้วย Application Google form ด้วย E-mail ของอาจารย์ผู้สอนหรืออาจารย์ผู้ร่วมสอนที่ได้รับมอบหมาย
    3. อาจารย์ผู้สอบ ทดสอบระบบที่ใช้ในการสอบ เช่น การตั้งเวลาเปิด ปิด ในการสอบ และแจ้งลักษณะข้อสอบและเกณฑ์วัดและประเมินผลที่ชัดเจน  และให้นักศึกษาตรวจสอบความพร้อมอินเตอร์เน็ต
    4. แจ้งนักศึกษาให้เข้าห้องเรียน ก่อนเวลาสอย 15 นาที และเช็คชื่อให้ครบทุกครั้ง ก่อนเริ่มสอบ หาก ปัญหาที่ไม่สามารถเข้าสอบ ให้แจ้งในแชทของห้องเรียน หรือ LINE กลุ่ม ของชั้นปี
    5. แจ้งคะแนนหรือผลการประเมินให้ผู้เรียนทราบ เพื่อช่วยผู้เรียนประเมินและกำกับตนเองในการเรียน
  3. การประเมินการสอนออนไลน์โดยนักศึกษา
    การจัดการเรียนการสอนออนไลน์เนื่องจากผู้เรียนและผู้สอนอยู่ห่างไกลกัน การวัดและประเมินผลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องประเมินได้ว่าผู้เรียนและผู้สอนมีความเข้าใจตรงกันและการเรียนการสอนดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา ผู้เรียนมีความพึงพอใจหรือไม่ จากประสบการณ์ในการสอนของอาจารย์ทุกท่าน อาจารย์ได้เลือกใช้การประเมินดังนี้
    4.1 ใช้การถามตอบเพื่อให้ทราบว่ามีความเข้าใจตามวัตถุประสงค์หรือไม่
    4.2 มีการทดสอบเก็บคะแนนหลังการเรียนการสอนผ่านออนไลน์
    4.3 ให้นักศึกษาประเมินความพึงพอใจผ่านแบบสอบถามออนไลน์
    4.4 การสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนระหว่างเรียน ผ่านการเรียนสด Hangouts Meet และเมื่อสิ้นสุดการเรียนในแต่ละครั้ง
    4.5 การให้ทำแบบประเมินผลการสอนและความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนการสอนออนไลน์
  4. ปัญหาและอุปสรรคการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ และแนวทางแก้ไข

จากการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า จึงทำให้รูปแบบการเรียนการสอนเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ในการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ อาจารย์ในสาขาวิชาพบปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งได้มีแนวทางแก้ไขดังนี้

5.1 อินเตอร์เน็ตนักศึกษาไม่เสถียร ในกรณีการสอบเก็บคะแนน จะส่ง ลิ้งรายวิขาที่มีปัญหาและรายละเอียดให้นักศึกษาเป็นรายบุคคลเพื่อเข้ารับการสอบใหม่
5.2 นักศึกษาบางรายที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล อาจมีปัญหาต่อการใช้งานของอินเตอร์เน็ต วิธีแก้ไขคือ โหลดไฟล์การสอนไว้ในห้องเรียนเพื่อให้นักศึกษาเข้ามารับชมการสอนได้เสมอ
5.3 นักศึกษาใช้ฟังก์ชั่นต่างๆ ในโปรแกรมไม่เป็น เช่น การแชร์วิดีโอ แก้ไขโดยการให้คำแนะนำทั้งการพูดอธิบายและพิมพ์ข้อความบนหน้าจอ
5.4 การเข้ากลุ่มออนไลน์ของนักศึกษาแต่ละคนไม่พร้อมกัน แก้ปัญหาโดยแจ้งเวลาให้นักศึกษาทราบล่วงหน้า พร้อมส่งลิงค์และเตือนก่อนเวลาเรียน 30 นาที ทาง Line กลุ่ม

  1. ปัจจัยสำคัญของความสำเร็จในการสอนออนไลน์
    ตัวแทนอาจารย์ในภาควิชาที่สอนแบบออนไลน์ มีความคิดเห็นว่าการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ให้สำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้
    6.1 ทัศนคติของผู้สอนและผู้เรียนต่อการเรียนการสอนแบบออนไลน์ที่เปิดใจ ยอมรับและคิดอย่างสร้างสรรค์
    6.2 ทักษะพื้นฐานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้สอนผู้เรียน
    6.3 อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (smart devices)
    6.4 ระบบเครือข่ายการสื่อสาร (network) ที่ดีของทั้งผู้สอนและผู้เรียน
    6.5 การเตรียมความพร้อมของผู้สอนและผู้เรียนล่วงหน้า
    6.6 การจัดตารางสอนและตารางสอบของแต่ละวิชาในช่วงเวลาที่เหมาะสม
    6.7 การให้ข้อมูลแก่นักศึกษาที่ชัดเจนและถูกต้อง
    6.8 ความช่วยเหลือ การให้คำปรึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ในการจัดการสอนออนไลน์จากศูนย์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
    6.9 ความน่าสนใจของสื่อ การกระตุ้นถามตอบข้อสงสัยโดยตรง เพื่อกระตุ้นการคิดและให้นักศึกษาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
    6.10 สิ่งแวดล้อมในการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สอนและผู้เรียน
    6.11 ความใส่ใจของทั้งอาจารย์นักศึกษาในการติดตามความก้าวหน้าของงานที่มอบหมาย
  2. จุดแข็งและจุดอ่อนของการสอนออนไลน์

การเรียนการสอนแบบออนไลน์ จากการร่วมแสดงความคิดเห็นของตัวแทนอาจารย์ในภาควิชาที่สอนแบบออนไลน์ พบ จุดอ่อนและจุดแข็งดังนี้

จุดแข็ง

  1. การสอนแบบออนไลน์ มีความยืดหยุ่นเรื่องสถานที่ เวลา และวิธีการเรียนการสอน โดยสามารถสอนนักศึกษาในที่ใดเวลาใดก็ได้ที่มีช่องทางการสื่อสารที่มีคุณภาพ และ เสถียรพอ
  2. การเรียนการสอนสามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว แม้มีปัจจัยอื่นแทรกแทรก เช่น มาไม่ได้ติดธุระสำคัญ ป่วย เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถติดตาม และอัฟเดทการเรียนการสอนได้รวดเร็ว เข้าถึงได้ทุกคน ประหยัดเวลา และลดโลกร้อนลดกระดาษในการใช้เรียน
  3. นักศึกษามีโอกาสในการที่กล้าแสดงออก อย่างเป็นอิสระมากขึ้น เมื่ออยู่ในห้องเรียนออนไลน์ ทั้งการเปิดประเด็นพูดคุยหรือโต้ตอบในเรื่องที่ผู้อื่นเสนอความคิดเห็น
  4. ในห้องเรียนออนไลน์ ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการแสดงความคิดเห็นและการเรียนรู้มากขึ้นเมื่อเทียบกับการเรียนแบบปกติ
  5. ทำให้นักศึกษามีวินัยในการเรียนมากขึ้น รับผิดชอบต่อตนเอง ฝึกความซื่อสัตย์ ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ข้อจำกัด

  1. ทักษะของผู้สอนในการใช้โปรแกรมต่างๆ เทคนิคขั้นพื้นฐานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสามารถช่วยส่งเสริมผู้เรียนให้เข้าถึงการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาจจะต้องเข้ารับการอบรมหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญให้มีความคุ้นเคยกับฟังก์ชั่นต่างๆ ในโปรแกรมที่ต้องการใช้ก่อน
  2. ทักษะของผู้เรียนในการเข้าถึงการเรียนโดยการใช้โปรแกรมแต่ละชนิดที่ผู้สอนปรับเปลี่ยนไปในแต่ละครั้งอาจทำให้ผู้เรียนเกิดความเครียดจากการใช้เทคโนโลยีที่มากเกินไปและไม่คุ้นเคย ตลอดจนปัญหาอุปสรรคจากการเชื่อมต่อของเครือข่ายการสื่อสารที่ใช้อีกด้วย
  3. หากสัญญาณอินเทอร์เน็ต มีปัญหา อาจส่งผลต่อจัดการเรียน การสอนไม่ได้ตามที่วางแผนไว้
  4. ไม่มีบรรยากาศร่วมในการเรียนการสอน
  5. ถ้าครูใช้ Application แตกต่างกันมาก ๆ นักศึกษาที่ใช้เรียนจากโทรศัพท์จะไม่สะดวก
    ไม่สะดวกในการมอบหมายงานให้นักศึกษาทำเป็นกลุ่ม
  6. ขาดการมีปฏิสัมพันธ์ ขาดการทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อนในชั้นเรียน ในวิชาทางด้านทักษะอาจไม่สามารถทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ในรายวิชาอย่างแท้จริง

ตัวอย่างห้องเรียน Application Google classroom

ตัวอย่างห้องเรียนของสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

ตัวอย่างห้องเรียนของสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล